กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553


กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

อธิบายข้อสอบ
          ในธรรมชาติ การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ มักมีความเกี่นวข้องกัน "การที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเพื่อที่จะดำรงชีวิต" พฤติกรรมตามธรรมชาตินี้เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และในห่วงโซ่อาหารจะมีความเชื่อมโยงกัน หรือที่เราเรียกว่า สายใยอาหาร (Food web) โดยทั่วไปในห่วงโซ่อาหารหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 6 ชนิด แต่ในหนึ่งสายใยอาหารอาจมีมากกว่า 1,000 ชนิด
          พืช คือผู้สร้าง (Producer) หรือ ผู้ผลิตอาหาร ซึ่งเป็นจุดแรกของห่วงโซ่อาหาร ผู้ที่กินผู้สร้าง เรียกว่า ผู้บริโภค (cนnsumer) ซึ่งมีหลายระดับ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจเป็นผู้บริโภคได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สิ่งมีชีวิตนั้นกิน เช่น ถ้าคนกินถั่ว คนเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง แต่ถ้าวัวกินถั่วและ้วคนกินเนื้อวัว วัวจะเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง คนเป็นผู้บริโภคอันดับสอง
ผู้บริโภคที่กินพืชเป็นอาหาร เรียกว่า Herbivore ถือเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง ผู้บริโภคที่กินสัตว์เป็นอาหาร เรียกว่า Cornivore ถือเป็น ผู้บริโภคตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป ผู้บริโภคอีกพวกหนึ่งกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น มนุษย์ พวกนี้เรียกว่า Omnivore
         ห่วงโซ่อาหารมี 2 แบบ แบบที่หนึ่งเริ่มจากพืชไปยังสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ ส่วนอีกแบบหนึ่งเริ่มจากซากพืช ซากสัตว์ พวกนี้ถูกย่อยสลายโดย "ผู้ย่อยสลาย" (Decomposer) เช่นไส้เดือน จุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรีย เห็ด โดยซากสัตว์ที่ถูกย่อยสลาย จะให้ธาตุอาหารกลับลงไปในดินเพื่อเป็นอาหารของพืช แล้วกลับเข้าไปในห่วงโซ่อาหารแรกหมุนเวียนต่อไปไม่รู้จบ
ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3
อธิบายข้อสอบ
          การที่สิ่งมีชีวิตต้องมีการหายใจ คือการที่ร่างกายต้องรับก๊าซออกซิเจน จากอากาศไปส่งให้เซลล์ต่างๆของร่างกาย ทางกระแสโลหิต และยังขับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เซลล์ขับออกมาทางกระแสโลหิต ออกจากร่างกายด้วย การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้ เกิดขึ้นที่ถุงลมปอด เรียกว่า การฟอกโลหิต ดังนั้นในการรับเอาก๊าซออกซิเจน และขับการขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย จึงต้องมีการ"หายใจเข้า - ออก"
ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/146/science/air.htm
          การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตอ๊อกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87
อธิบายข้อสอบ
สาร CFC หรือสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน เป็นสารประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้นมิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ แอร์ในรถยนต์ และจากสเปรย์ฉีดพ่น สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโพรวีน ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำลายโอโซนชั้นบรรยากาศของโลกได้ ส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี ส่งมายังโลกได้มากกว่าปรกติและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น ก่อให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังได้
ที่มา http://nstda.or.th/index.php/vdo-nstda/sci-day-techno/1696-cfc
อธิบายข้อสอบ
ไวรัสทั่วไปตามธรรมชาติจำเป็นต้องเข้าไปเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น โดยยีนของไวรัสและยีนของเซลล์ที่เพาะเลี้ยงไวรัสต้องมีกลไกสอดคล้องต้องกัน ไวรัสจะสามารถเจริญแพร่พันธุ์ไวรัสใหม่ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และชนิดของไวรัส ดังนั้น แต่ละชนิดของไวรัสจึงทำให้เกิดโรคเฉพาะมนุษย์ สัตว์ แมลง พืช สาหร่ายสีน้ำเงิน รา หรือบัคเตรีต่าง ๆ กัน
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อฉีดเพาะเลี้ยงลงในถุงน้ำคร่ำลูกไก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะทวีจำนวนได้มากมาย แต่ถ้าฉีดเลี้ยงบนเยื่อคอริโออลันตอยส์ของลูกไก่ จะไม่เกิดการสังเคราะห์ไวรัสไข้หวัดใหญ่เลย แสดงว่าสภาพแตกต่างกันโดยรูปร่าง และหน้าที่ (differentiation) * ของเซลล์ถุงน้ำคร่ำกับเซลล์เยื่อคอริโออลันตอยส์ อำนวยให้มีความสามารถในการสังเคราะห์ไวรัสได้ต่างกัน
ไวรัสหูดของโชพ เมื่อฉีดเข้าผิวหนังกระต่ายบ้าน จะเกิดเป็นหูดที่ผิวหนัง ภายในเซลล์ที่เป็นหูดจะมีการสร้างสารของไวรัสหูดของโชพ แต่จะไม่สร้างไวรัสหูดที่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าทดลองกับกระต่ายป่าหางปุยฝ้าย จะว่าสร้างไวรัสที่หูดที่สมบูรณ์ได้มากมายในการทวีแพร่พันธุ์ของไวรัสนั้น ไวรัสจะสังเคราะห์ไวรัสที่สมบูรณ์ได้โดย
1. เข้าไปอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพราะไวรัสไม่มีเอนไซม์ ต้องอาศัยเอนไซม์ของเซลล์
2. สังเคราะห์สร้างกรดนิวคลีอิคเพิ่มขึ้น
3. สังเคราะห์โปรตีนที่ห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัส
4. สังเคราะห์อินทรียสาร ที่กำหนดโดยแต่ละยีนของไวรัสเฉพาะ
สำหรับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพืชสาหร่ายสีน้ำเงิน รา บัคเตรี ไวรัสจะต้องผ่านผนังเซลล์ก่อนที่จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปข้างใน โปรตีนที่พอกห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัสจะทำปฏิกิริยากับผนังเซลล์ (อาจจะเป็นไลโพโพลิแซกคาไรด์ หรือ โพลิแซกคาไรด์) กระตุ้นกลไกให้กรตดนิวคลีอิคของไวรัส หรือไวรัสเปลือยอย่างเดียวผ่านผนังเซลล์พืชมักไม่ได้ ทำให้ทราบว่าโปรตีนที่ห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัส มีความสำคัญในการช่วยให้ไวรัสเข้าไปเจริญแพร่พันธุ์ในเซลล์ได้ อย่างไรก็ดี ในระยะหลังนี้ได้พบว่ากรดนิวคลีอิคของไวรัส หรือไวรัสเปลือยของโรคไวรัสใบยาสูบด่าง ก็สามารถผ่านผนังเซลล์ใบยาสูบ และสังเคราะห์ไวรัสใบยาสูบด่างที่สมบูรณ์ได้ด้วยกลไกพิเศษ สภาวะดังกล่าวนี้ปัจจุบันเรียกว่า "ทรานสเฟคชัน" (transfection)
สำหรับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์ ไวรัสที่มีเยื่อหุ้มมักเข้าไปในเซลล์ทั้งอนุภาคไวรัส เยื่อมักค้างติดอยู่ที่ผิวเซลล์ โปรตีนที่หุ้มห่อกรดนิวคลีอิคของไวรัสจะถูกย่อยสลายภายในเซลล์ ทำให้กรดนิวคลีอิคของไวรัสหรือไวรัสเปลือยอยู่ภายในเซลล์ เมื่อกรดนิวคลีอิคของไวรัสเปลือยเข้าไปในเซลล์แล้ว ไวรัสเปลือยอาจจะ
1. เปลี่ยนสภาพเป็นโปรไวรัส แฝงตัวร่วมกับกรดนิวคลีอิคของเซลล์ในลักษณะของชีพเภทนะ
2. ไวรัสเปลือยหากเป็นอิสระ หรือโปรไวรัสหากเปลี่ยนสภาพเป็นไวรัสเปลือย ย่อมทวีจำนวนแพร่พันธุ์ สังเคราะห์ไวรัสที่สมบูรณ์ในลักษณะวงชีพเภทะ
3. โปรไวรัสที่ผันแปร หรือไวรัสที่ผันแปร หากทวีจำนวนแพร่พันธุ์ย่อมสังเคราะห์ไวรัสไม่สมบูรณ์ อาจจะอยู่ทั้งในลักษณะเซลล์สลายหรือไม่สลายก็ได้
ไวรัสตามธรรมชาติจำเป็นจะต้องเข้าไปเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น ไวรัสจะสามารถเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น ไวรัสจะสามารถเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ชนิดใดนั้น แล้วแต่ชนิดไวรัสในการเจริญทวีแพร่พันธุ์ของไวรัสมีขั้นตอนดังนี้
1. ไวรัสจะต้องเข้าไปภายในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิต
2. ไวรัสจะต้องสร้างกรดนิวคลีอิคขึ้นใหม่ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตนั้นได้ (replicating nucleic acid)
3. ไวรัสจะต้องสร้างโปรตีนหุ้ม (coat protein) ห่อหุ้มกระนิวคลีอิคเพื่อให้เกิดไวรัสที่สมบูรณ์ ส่วนที่เป็นกรดนิวคลีอิคเท่านั้นจะทวีจำนวนมากมายในเซลล์กรดนิวคลีอิคของไวรัสบางชนิด อาจจะเป็น ดีเอ็นเอ สายเดียว (+) บางชนิดอาจจะเป็น ดีเอ็นเอ สองสาย (+ และ -) บางชนิดอาจจะเป็น อาร์เอ็นเอ สายเดียว (+) บางชนิดอาจจะเป็น อาร์เอ็นเอ สองสาย (+ และ -)
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA
อธิบายข้อสอบ
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน
(Glycoprotein) 
เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้

2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ
(Semipermeable Membrane)


3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้

3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
            3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast)
เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียวเพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
            
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex)
เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์

3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
                นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบของนิวเคลียสมีดังนี้

                4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
               
4.2
ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียสจะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
               
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน

ที่มา http://www.oknation.net/blog/taweeporn/2009/03/02/entry-1

อธิบายข้อสอบ
สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)          หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
         ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
อธิบายข้อสอบ
การแพร่สารแบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) คือการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปจนถึงบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ แต่ต้องอาศัยตัวพาเป็นตัวกลาง (Carrier) ในการแพร่ ซึ่งมักเป็นสารจำพวกโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเช่นกรดอะมิโนซึ่งพบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงน้ำตาลกลูโคส, คาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต การแพร่แบบนี้ใช้การเคลื่อนที่แบบบราวนิงในการแพร่
การแพร่แบบฟาซิลิเทตไม่ต้องการพลังงานในการแพร่ตรงกันข้ามกับการลำเลียงสารแบบแอคทีฟทรานสปอร์ตที่ต้องใช้พลังงาน
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%95


อธิบายข้อสอบ
โดยปกติคนจะกลั่นปัสสาวะออกมาประมาณ 750 - 1,500 ซีซี ต่อวัน ขึ้นอยู่กับว่าคนนั้นดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน คนที่กินของเผ็ดหรือ
ทอดจะกระหายน้ำมากกว่าคนปกติ หรือในฤดูหนาวอากาศเย็นน้ำปัสสาวะจะมีมากกว่าฤดูร้อนอากาศร้อนเพราะไม่เสียเหงื่อทางผิวหนัง
รสของปัสสาวะจะมีรสเค็มๆ ถ้าปัสสาวะเข้มจะมีรสขมนิดๆ ในน้ำปัสสาวะมีอะไรดี มาดูกัน

ดร.ฟารอน นักชีวเคมีได้วิจัยสารต่างๆ ในปัสสาวะพบว่า 95% เป็นน้ำ 2.5 % เป็นยูเรีย อีก 2.5% เป็นสารอื่นๆ ถ้าแยกส่วนประกอบ
ที่เป็นมิลลิกรัมออกมาในน้ำปัสสาวะ 100 ซีซี(ลูกบาศก์เซนติมเตร)จะพบว่ามี
1. Urea Nitrogen ปริมาณ 682.00 มิลลิกรัม
2. Urea ปริมาณ 1,459.00 มิลลิกรัม เป็นสารขับปัสสาวะ สารต้านอักเสบ ต้านไวรัส แบคทีเรีย ผิวหนังอ่อนเยาว์ ช่วยกำจัดเชื้อ
แบคทีเรียในทางเดินอาหารขณะที่ดิ่มน้ำปัสสาวะเข้าไป
3. Creatinin Nitrogen ปริมาณ 36.00 มิลลิกรัม
4. Creatinin ปริมาณ 97.00 มิลลิกรัม
5. Uric acid nitrogen ปริมาณ 12.30 มิลลิกรัม
6. Uric acid ปริมาณ 36.90 มิลลิกรัม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง
7. Amino nitrogen ปริมาณ 9.70 มิลลิกรัม
8. Ammonia nit. ปริมาณ 57 มิลลิกรัม
9. Sodium ปริมาณ 212.00 มิลลิกรัม
10. Potassium ปริมาณ 137.00 มิลลิกรัม
11. Calcium ปริมาณ 19.50 มิลลิกรัม
12. Magnesium ปริมาณ 11.30 มิลลิกรัม
13. Chloride ปริมาณ 314.00 มิลลิกรัม
14. Total sulphate ปริมาณ 91.00 มิลลิกรัม
15. Inorganic sulphate ปริมาณ 83.00 มิลลิกรัม
16. Inorganic phosphate ปริมาณ 127.00 มิลลิกรัม
นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ อีก ซึ่งมีดังนี้
1. เอนไซม์ ได้แก่
1.1 Amylase(diastase)
1.2 Lactic dyhydrogenate(LDH)
1.3 Leucine amino-peptdase(LAP)
1.4 Urokinase เป็นสารละลายลิ่มเลือด รักษาเส้นเลือดอุดตัน
2. ฮอร์โมน ได้แก่
2.1 Catecholamines
2.2 17-Catosteroids
2.3 Hydroxysteroids
2.4 Erytropoietine สารกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
2.5 Adenylate cyclase ประสานการทำงานฮอรโมนหลายชนิดในร่างกาย โดยผ่านการทำงานของสาร cyclic AMP
2.6 Prostaglandin เป็นสารประจำถิ่นในเนื้อเยื่อหลายชนิด ควบคุมการอักเสบ การรับรู้ความปวด การจับตัวของลิ่มเลือด ช่วย
การทำงานของมดลูก
3. ฮอรโมนเพศ ช่วยสร้างความกระชุ่มกระชวย ผิวพรรณดี ลดรอยย่นและความหย่อนยาน สร้างสุขภาพจิตที่ดี ลดคลอเรสเตอรอล
ในเลือด ป้องกันกระดูกผุ
4. อินซูลิน คนที่เป็นเบาหวานจะได้อินซูลินเข้าไปช่วยเสริมสร้างการเจริญอาหาร
5. Melatonin พบในปัสสาวะตอนเช้า สารนี้ช่วยให้จิตใจสงบ ลดความกระวนกระวาย หลับสบาย

แต่นักวิจัยยังเชื่อว่ายังมีสารอื่นอีกที่ยังไม่รู้จักอีกมาก

จากการทดลองวิจัยของ น.พ.ธรรมาธิกรี รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย ได้ทดลองให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปัสสาวะของตนเอง 200 คน ได้ข้อสรุปดังนี้
1. เซลล์ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น อัตราการเผาผลาญในร่างกายสูงขึ้น
2. ช่วยให้ร่างกายช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้นในผู้ป่วยทุกราย ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดสูงขึ้น

ที่มา http://www.icphysics.com/modules.php?name=News&file=article&sid=77

อธิบายข้อสอบ
แวคิวโอล (vacuole)
          คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์
(tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ
ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

    คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล(contractile vacuole) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม
    ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) บรรจุอาหารที่รับมาจากนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบใน เซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
    แซบแวคิวโอล (sap vacuole) พบในเซลล์พืช ตอนอายุน้อย ๆ มีจำนวนมาก แต่เมื่ออายุมากเข้าจะรวมเป็นถุงเดียวขนาดใหญ่ มีหน้าที่สะสมสาร เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล สารพิษ
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/vacuole.html









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น